Businessman using computer to study BCG for sustainable economic development. BCG concept, bioeconomy, circular economy, green economy. with an icon on the screen

แนวคิด BCG คืออะไร? สร้างผลกระทบอย่างไรให้กับธุรกิจ? แนวคิด BCG มีประโยชน์อย่างไร?

Businessman using computer to study BCG for sustainable economic development. BCG concept, bioeconomy, circular economy, green economy. with an icon on the screen in

ในโลกยคปัจจุบัน แนวคิดเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนกลายเป็นแนวคิดที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวงการธุรกิจสมัยใหม่ที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง และแนวคิดสิ่งแวดล้อม BCG ก็มีแนวทางปฏิบัติให้กับเหล่าบริษัทให้สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงให้ผลประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้ด้วย

ในบทความนี้ เราจึงจะพาไปทำความรู้จักกับแนวคิดสิ่งแวดล้อม BCG ว่าแนวคิดนี้สามารถส่งผลอย่างไรในวงการธุรกิจ และการรักเอาแนวคิดนี้เข้ามาปรับใช้ ธุรกิจจะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง

แนวคิดเรื่อง BCG คืออะไร? BCG ย่อมาจากอะไร?

แนวคิดเรื่อง BCG คืออะไรกันนะ แล้วมันย่อมาจากอะไรก่อน? เรามาทำความรู้จักกับมันกันเลยดีกว่า

  • BCG ย่อมาจาก ‘Bio-Circular Green Economy’ เป็นโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่มุ่งเน้นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าหรือยาวนานที่สุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) การพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
  • แนวคิดเรื่อง BCG จะมุ่งเน้นหลักการที่จะช่วยให้สิ่งแวดล้อมของเราเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น สะอาดขึ้นโดยลดการปล่อยของมลพิษลง รวมถึงการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด 
  • แนวคิดดังกล่าวจะส่งเสริมให้เราใส่ใจกับการกระทำของเรามากขึ้น เช่น การลดปริมาณขยะอาหาร ลดการใช้พลังงาน และการจัดการกับทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น

คิดง่ายๆ ก็เหมือนให้ BCG เป็น road map ที่จะนำธุรกิจให้ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในขณะที่ยังสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นๆ ในตลาดได้เช่นเดิม วิน-วิน ทั้งสองด้าน!

Circular economy concept.Hand holding wooden block with green bokeh background.Eternity, endless and unlimited of Future business growth.Environmental sustainability and reduce pollution.

แนวคิดนี้จะช่วยธุรกิจอย่างไรได้บ้าง?

แนวคิดเรื่อง BCG ก็เป็นแนวคิดที่ดี แต่จะมันจะคุ้มกับการที่ธุรกิจจะต้องนำมาปรับใช้หรือเปล่า? มันจะช่วยพัฒนาธุรกิจของเราอย่างไรได้บ้างล่ะ?

ซึ่งธุรกิจต่างๆ สามารถนำแนวคิด BCG มาปรับใช้ได้ดังนี้:

  • เริ่มการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม: การประเมินผลกระทบที่ธุรกิจของเรามีต่อสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้เราทราบว่ายังมีจุดไหนที่เราต้องพัฒนาบ้าง
  • นำแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนมาปรับใช้ (Sustainable Supply Chain): ร่วมมือกับเหล่าซัพพลายเออร์ที่มีแนวคิดอยากลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนกันกับเรา เพื่อที่ธุรกิจของเราจะสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด
  • ลงทุนในเครื่องมือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: มีเครื่องมือมากมายที่ตั้งใจผลิตออกมาเพื่อการใช้พลังงานให้ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาเพื่อลดคาร์บอนฟรุตพริ้นต์ในธุรกิจของเราได้ การหันมาใช้เครื่องมือ/เครื่องจักรเหล่านี้จะช่วยให้เราลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเราได้มากข้น
  • นำกลยุทธ์การจัดการของเสียมาปรับใช้: กลยุทธ์การจัดการของเสีย อย่างเช่น แนวคิดเรื่องการรีไซเคิล ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง สนับสนุนการลดปริมาณการทิ้งขยะภายในองค์กร เป็นต้น
  • อบรมพนักงานอย่างทั่วถึง: การอบรมพนักงานเกี่ยวกับความสำคัญของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะองค์กรจะต้องเดินด้วยพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้อง
  • ร่วมมือกับภาคประชาสังคมและองค์กรรัฐบาล: ร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมถึงเข้าร่วมกิจกรรมทางสิ่งแวดล้อมต่างๆ

แนวคิดเรื่อง BCG มีประโยชน์อย่างไร? ธุรกิจจะได้อะไรจากการนำแนวคิดนี้มาปรับใช้?

มาถึงเรื่องสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง นั่นก็คือธุรกิจจะได้อะไรจากการนำแนวคิดสิ่งแวดล้อม BCG มาปรับใช้? 

  • ลดค่าใช้จ่าย: การนำแนวคิด BCG มาปรับใช้จะช่วยให้เราสามารถลดปริมาณการใช้พลังงานภายในองค์กรได้ ลดการสร้างขยะซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ในระยะยาว
  • ช่วยพัฒนาชื่อเสียงขององค์กร: การปรับใช้แนวคิดนี้จะช่วยให้คนภายนอกมององค์กรเราให้แง่ดีมากขึ้น ช่วยดึงดูดลูกค้าและผู้ร่วมลงทุนได้
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย: หลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย มีกฎหมายและกฎบัญญัติด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งการทำตามแนวคิด BCG จะช่วยให้เราดำเนินการภายใต้กฎหมายได้อย่างแน่นอน
  • เข้าถึงตลาดใหม่ๆ: ผู้บริโภคสมัยใหม่เริ่มต้องการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ธุรกิจที่มีความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมก็จะสามารถเข้าสู่ผู้คนกลุ่มใหม่ๆ ได้มากกว่า ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจนั้นๆ มีความได้เปรียบคู่แข่งมากขึ้น
  • ดึงดูดแรงงานที่มีความสามารถ: ไม่ใช่แค่ผู้บริโภค แต่พนักงานก็เริ่มมองหาและอยากทำงานกับบริษัทที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้หากเรานำแนวคิดเรื่อง BCG มาใช้ จะช่วยให้เราสามารถรักษาและดีงดูดพนักงานที่มีความสามารถได้
  • ความยั่งยืนในระยะยาว: การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของธุรกิจของเรา จะช่วยให้เราเริ่มจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิ่ทธิมากขึ้นเรื่อยๆ และสร้างความยั่งยืนในด้านต่างๆ ในระยะยาวได้


Two Farmers uses a specialized app on a digital tablet for checking wheat. Agriculture and ecology concept.

ข้อดีของการที่ธุรกิจเปลี่ยนไปเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น?

แล้วการเปลี่ยนแปลงไปเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นมีข้อดีอย่างไร? มีประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกหรือไม่?

  • ลดผลกระทบต่อสภาพอากาศ: การปรับเอาแนวทางการรักษ์โลกจะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซโลกร้อนได้ ทุกๆ การกระทำยังไงก็มีประโยชน์!
  • อนุรักษ์พลังงาน: การใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบจะช่วยให้เราสามารถอนุรักษ์แหล่งพลังงาน เช่น น้ำ และ ป่า ของเราได้อย่างยั่งยืน
  • ปรับปรุงคุณภาพน้ำและอากาศ: แนวคิดเรื่องการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้เรามีตระหนักรู้เรื่องมลพิษทางน้ำและอากาศได้มากขึ้น ทำให้เราอยากที่จะหาทางปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมของเรามากขึ้น
  • สร้างพลังงานทางบวกให้กับผู้เกี่ยวข้อง: ธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้กับองค์กรอื่นๆ ลูกค้า และชุมชนให้เกิดการนำมาปรับใช้เช่นเดียวกัน เป็นแรงกระเพื่อมในสังคมได้เป็นอย่างดี

สรุป

สรุปใจความสั้นๆ ในบทความนี้ เราพูดถึง:

  • แนวคิด BCG (Bio-Circular Green Economy) แนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยได้สร้างให้เป็นแนวทางให้กับธุรกิจเพื่อความตระหนักรู้และลดผลกระทบของธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  • การรับเอาแนวคิดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจะช่วยให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ เพิ่มชื่อเสียงให้กับร้าน ดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ และรักษาพนักงานให้อยากอยู่กับเราได้
  • นอกจากนั้น การเปลี่ยนมาใช้แนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะช่วยลดการเพิ่มขึ้นของก๊าซโลกร้อน อนุรักษ์พลังงาน ช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำและอากาศ ถ้าทุกภาคส่วนสามารถทำได้เช่นนี้ ก็จะสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลให้กับโลกของเรา

แนวคิด BCG ไม่ควรเป็นแค่ทางเลือก แต่ควรเป็นกลยุทธ์ที่ทุกคนควรจะทำเอามาปรับใช้เพื่อเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ถ้าเรายังอยากจะอยู่ในเส้นทางการแข่งขัน ในขณะที่ต้องการแนวทางเพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวคิดเรื่อง BCG ก็เป็นแนวคิดที่ควรรับนำเอามาปรับใช้อย่างยิ่ง

อยากรู้ไหมว่า HASS Thailand สามารถช่วยองค์กรของคุณไปสู่แนวทางเปฺ็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรได้บ้าง? ติดต่อเราตอนนี้ เราพร้อมยินดีให้บริการ

Shopping cart

0

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Enter your search & hit enter