Blog thumbnail

ขยะอาหารส่งผลอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อม? แล้วอนาคตของเราล่ะ? เราจะลดปริมาณขยะอาหารได้อย่างไร?

Blog thumbnail in

ขยะอาหารส่งผลอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อม? แล้วอนาคตของเราล่ะ? เราจะลดปริมาณขยะอาหารได้อย่างไร?

มนุษย์เราทุกคนดูเหมือนว่าจะมีความอยากมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีแล้วกับการกินเพื่ออยู่รอดอย่างในอดีต ปัจจุบัน เราบริโภคอาหารบางครั้งก็เพื่อสนองความอยากเท่านั้น จริงๆ การออกไปข้างนอก ไปมีความสุขกับการทานสเต็คบ้างบางครั้งด้วยเงินของเราเอง หรือจะสั่งหัวหอมทอดมาแกล้มมื้อเย็นมันก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่ความจริงก็คือ เรากำลังสร้างขยะอาหาร (food waste) ในปริมาณที่ ‘อ้ายบ่อยากเชื่อสายตา’ เลยทีเดียว

แต่เอาเข้าจริง ต่อให้ชื่อว่าขยะอาหารเนี่ย จริงๆ แล้วมันแย่ไหม? เราควรจะต้องรู้สึกผิดตอนที่เรากินข้าวเหลือ ตอนที่พิซซ่าถาดนั้นทานไม่หมด แล้วลืมทิ้งไว้ในตู้เย็นเป็นเดือนๆ รึเปล่า? แล้วสรุปว่าขยะอาหารกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน? อนาคตของเราจะเป็นยังไง?

ในบทความนี้เราจะมาตอบคำถามเหล่านั้นกับ เรื่องต่างๆ ที่คุณควรจะรู้ไว้ และวิธีการลดขยะอาหารช่วยสิ่งแวดล้อม ไปดูกันเลย!

ขยะอาหาร (food waste) คืออะไร และเป็นปัญหากับสิ่งแวดล้อมอย่างไร?

ขยะอาหาร (food waste) คืออาหารที่เราสร้างขึ้น แต่กลับไม่ถูกกินเข้าไป ความจริงคือ โดยเฉลี่ยกว่า 1 ใน 4 ของอาหารทุกจานที่เราทำจะลงไปอยู่ในถังขยะ ในประเทศซีกโลกฝั่งตะวันตกแค่ฝั่งเดียวก็มีสถิติการทิ้งอาหารรวมกันพอๆ กับอาหารที่ถูกทำขึ้นในประเทศที่อยู่ฝั่งใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าเลยทีเดียว (นั่นหมายถึง ถ้าเราสามารถนำอาหารที่เหลือจากประเทศในซีกโลกฝั่งตะวันตกมาได้ เราจะสามารถนำมาให้คนในทวีปแอฟริกากินอิ่มได้เกือบทั้งทวีปเลยนะ) คือพอมานึกถึงว่าในโลกเรามีผู้คนมากกว่า 820 ล้านคนที่กำลังอดอยาก จำนวนขยะอาหารเหล่านั้นก็ถือว่าเยอะจนน่าเจ็บปวดเลยทีเดียว

ถึงแม้ว่าอาหารที่เราทิ้งๆ ไปจะไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรต่อมนุษยชาติเรามากมาย แต่สำหรับสิ่งแวดล้อมนี่คือคนละเรื่องเลย ตั้งแต่ในขั้นตอนการผลิต เราใช้พลังงานและน้ำมากแค่ไหนกว่าจะทำออกมาได้ซัก 1 จาน ไหนจะขั้นตอนบรรจุหีบห่อและตอนขนส่งอีกนะ

แล้วในตอนที่เราทิ้งไป หลายคนอาจจะคิดว่ามันเป็นอาหารนี่นา เดี๋ยวก็กลายเป็นปุ๋ยให้ธรรมชาติแล้ว แต่เอาเข้าจริงๆ จำนวนอาหารที่ทิ้งมันมีจำนวนมากกว่าจะไปคุยกับรากมะม่วงหลายเท่าตัว และในขั้นตอนเน่าเสีย อาหารเหล่านั้นจะสร้างก๊าสมีเทนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งก๊าซนี่มันส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกเร็วกว่าก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์อีกนะ!

น่าจะถึงเวลาที่เราควรต้องทำอะไรซักอย่างได้แล้วหรือยัง?

สาเหตุหลักของขยะอาหารคืออะไร?

ปัญหาขยะอาหารเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุมาก แต่หลักๆ ต้นตอของปัญหาก็ไม่ได้แตกต่างอะไรมากนัก นั่นก็คือ ในขณะที่เรากำลังพูดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หลายคนก็ไม่ได้สนใจเรื่องนี้เท่าไหร่

โดยปกติแล้วผู้คนมักจะเชื่อว่าสิ่งที่พวกเขาทำได้มันเล็กน้อยเกินกว่าจะสร้างความแตกต่าง แต่คุณรู้ไหมว่า ดาลัย ลามะ เคยกล่าวไว้ว่าอย่างไร?

“ถ้าคิดว่าสิ่งเล็กน้อยมันสร้างความแตกต่างไม่ได้ ลองไปนอนคุยกับยุงดูสิ

(If you think you are too small to make a difference, try sleeping with a mosquito)”

จริงอยู่ว่าหลายคนก็ยินดีที่จะช่วยลดปริมาณขยะจากเศษอาหารให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่หลายๆ ครั้งก็มักจะติดเงื่อนไขจากสังคมอยู่เสมอ (โดนกดดัน, เพราะคนอื่นทำเราเลยต้องทำด้วย ฯลฯ) และขาดความเข้าใจอย่างแท้จริงในการเลือกบริโภคอาหาร

ส่วนสาเหตุอื่นๆ ก็มักจะมี:

  • การวางแผน (การบริโภค) ที่ไม่ดี
  • เตรียมอาหารเยอะเกินไป
  • ความผิดพลาดในกระบวนการทำอาหาร ตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงระดับโรงงาน
  • สั่งอาหารมาเยอะเกินไป
  • ผลิตอาหารมากเกินไป
  • แค่อยากลองชิม อยากให้มี อยากได้มาถ่ายรูป กินไม่กินไว้ทีหลัง

และเชื่อไหมว่าอีก 1 สาเหตุหลักของขยะอาหารก็คือหน้าตา ซึ่งเป็นสาเหตุที่น่าหงุดหงิดมาก เพราะมากกว่า 20% ของอาหารที่ถูกผลิตขึ้นโดนเทเพราะไม่สวย! และทุกๆ 1 ใน 5 ของแครอทจะถูกโยนทิ้งเพราะมันเบี้ยวเกินกว่าคนจะซื้อ แม้จะมีประโยชน์เท่ากับลูกที่เป็นแท่งแหลมเรียวสวยก็ตาม

ขยะอาหารเกิดขึ้นมากแค่ไหนในแต่ละวัน?

คุณจะรู้สึกยังไงถ้ารู้ว่า ทุกๆ วันในสหรัฐฯ แค่ประเทศเดียวก็มีอาหารถูกทิ้งมากกว่า 150,000 ตันแล้ว? นี่ถ้าเอามาแบ่งให้คนละครึ่งกิโลกรัม ประชากรอเมริกันทุกคนเกือบ 330 ล้านคนจะได้อาหารทานฟรีทุกวัน

ในระดับโลก ทางองค์การสหประชาชาติเคยคาดการณ์ไว้ว่า 17% ของอาหารที่ถูกผลิตขึ้นในโลกกลายเป็นขยะ ซึ่งนั่นหมายถึงอาหารกว่า 930 ล้านตันถูกเททิ้งในทุกๆ วัน (เทียบปริมาณแล้วก็แค่วาฬสีน้ำเงินราวๆ 6 ล้านตัวเท่านั้นเอง)

และในความเป็นจริง ไม่ว่าคุณจะคิดว่าสิ่งที่คุณทำมันเล็กน้อยมากแค่ไหน มันก็ยังเป็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นอยู่ดีนะ!

ขยะอาหารจะส่งผลอย่างไรต่ออนาคต?

ความน่ากลัวอย่างหนึ่งเลยก็คือ 6-8% ของก๊าซเรือนกระจก (ซึ่งสถานการณ์ปกติก็เข้าขั้นจะวิกฤติอยู่แล้ว) มาจากอาหารที่เราทิ้งขว้างไปนี่แหละ ซึ่งเราสามารถพูดได้เลยว่า ลักษณะการบริโภคของมนุษย์เรากำลังพาเราเข้าสู่การทำลายล้างตัวเองอย่างช้าๆ แต่แน่นอน

และนี่เป็นแค่ปัจจัยด้านการกินเท่านั้นนะ ยังไม่รวมปัจจัยอื่นๆ ที่เรารู้กันดีและกำลังทำกันเป็นประจำด้วยซ้ำ

เราจะแก้ปัญหาขยะอาหารได้อย่างไร?

จริงๆ สถานการณ์นี้มันก็ไม่ได้ดูสิ้นหวังซะทีเดียว รัฐบาลหลายๆ ประเทศก็พยายามออกมาตรการต่างๆ เพื่อลดปัญหาขยะอาหารให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนในฐานะปัจเจกบุคคล เราก็สามารถช่วยลดปัญหานี้ได้เช่นกัน ซึ่งมันจะช่วยให้เราลดปริมาณคาร์บอนฟุตปรินต์ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น

  • ลงทุนในเครื่องกำจัดเศษอาหาร: การมีเครื่องกำจัดเศษอาหารอย่าง เครื่องกำจัดเศษอาหารของ HASS จะช่วยเปลี่ยนเศษอาหารของคุณให้กลายเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้ด้วยนะ ซึ่งแทนที่คุณจะเป็นกังวลเวลาที่ทำอาหารเยอะเกินไป หรือรู้สึกแย่เวลาทานข้าวไม่หมด คุณก็นำไปเป็นอาหารให้ต้นไม้ภายในบ้านแทนสิ (และถ้าเผื่อใครสนใจ สามารถลองดูว่า ปุ๋ยหมักทำอย่างไร และ วิธีใช้งานเครื่องกำจัดเศษอาหาร ซึ่งเป็นวิธีที่เร็วและมีประสิทธิภาพที่สุดแล้ว)
  • เขียนรายการซื้อของ และซื้อเท่าที่จำเป็น
  • ลองหันมาทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น
  • อย่ารังเกียจน้องๆ ผักและผลไม้ที่ ‘ไม่สวย’ เลยนะ
  • เก็บอาหารอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการเน่าเสีย และทิ้งโดยเปล่าประโยชน์
  • พยายามไม่ทิ้งขว้างอาหารเหลือให้ได้มากที่สุด
  • สนับสนุนเหล่าคนทำอาหารท้องถิ่น
  • ลดการใช้น้ำที่ไม่จำเป็น เช่น ปิดก๊อกน้ำตอนกำลังแปรงฟัน หรือโกนหนวด
  • และสุดท้าย บอกต่อสิ่งดีๆ (เช่น บทความนี้) ให้กับเพื่อนๆ และครอบครัวด้วยนะ คุณจะช่วยได้เยอะเลย!

Shopping cart

0

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Enter your search & hit enter